โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง “Jigsaws for the best care” (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย)

โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง “Jigsaws for the best care” สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน ( โอสถศาลา ) ร่วมกับ บริษัท เอ. เมนารินี (ประเทศไทย) จำกัด ประชุมออนไลน์ ผ่าน application Zoom CPE 3.00 Credits หลักการและเหตุผล เภสัชกรชุมชนเป็นหนึ่งในบุคลากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิดประชาชน เนื่องจากงานบริบาลเภสัชกรรมที่มีความต้องการเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น การให้คำแนะนำในร้านยาเน้นไปที่อาการ ภาวะหรือโรคที่พบบ่อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาการเบื้องต้นที่อาจนำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ ประชาชนส่วนใหญ่เลือกเข้ารับบริการในร้านยาซึ่งมีข้อได้เปรียบหลายประการ เช่น ความสะดวกในการเข้ารับบริการ เข้าถึงง่ายประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเข้ารับบริการ เภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการใช้บริบาล และส่งเสริมการเข้าถึงยาและบริการสุขภาพให้แก่ประชาชนทั้งในบริบทของสถานพยาบาล และร้านขายยา เภสัชกรจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีองค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคและแนวทางการรักษาโรค โดยเฉพาะโรคที่ผู้ป่วยมักเข้ามาปรึกษาที่ร้านยาก่อนเป็นขั้นแรก กอปรกับปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความทันสมัยมากขึ้น เภสัชกรชุมชนจึงจำเป็นต้องเข้าถึงทั้งแนวทางการรักษาที่ทันสมัยและข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ทันยุคเพื่อสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการได้อย่างเหมาะสม เนื่องในโอกาสครบรอบ 111 ปี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน (โอสถศาลา) ร่วมกับหน่วนการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมศักยภาพของเภสัชกรให้สามารถให้การบริบาลทางเภสัชกรรมโรคหรืออาการที่พบบ่อย จึงจัดโครงการประชุมวิชาการโดยมุ่งเน้นองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันทั้งการเลือกใช้ยาแก้แพ้ซึ่งเป็นยาที่ใช้บ่อย...

โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง “บทนำสู่ผลิตภัณฑ์การแพทย์ชั้นสูง” (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย)

โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง "บทนำสู่ผลิตภัณฑ์การแพทย์ชั้นสูง" งานประชุมทางออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom webinar วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2567 CPE 2.00 Credits หลักการและเหตุผล ผลิตภัณฑ์การแพทย์ชั้นสูง เช่น ยาชีววัตถุ เซลล์บำบัด และเนื้อเยื่อวิศวกรรม เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีศักยภาพสูงในการรักษาโรคที่รักษายาก แต่ยังคงมีความท้าทายในด้านต่างๆ ที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจ เช่น กลไกการออกฤทธิ์ ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย กระบวนการผลิต และการควบคุมคุณภาพ โครงการ webinar นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การแพทย์ชั้นสูงแก่เภสัชกรและบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การแพทย์ชั้นสูง ได้แก่ ยาชีววัตถุ เซลล์บำบัด และเนื้อเยื่อวิศวกรรมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์การแพทย์ชั้นสูง ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ (https://www.ce.pharm.chula.ac.th/) หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณราตรี ลี้จันทรากุล หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง โทรศัพท์ 0-2218-8283  หรือ e-mail: ce@pharm.chula.ac.th โดยไม่มีค่าใช้จ่าย...

เรื่อง “งานศึกษาต่อเนื่อง ฉลอง 111 ปีแห่งเภสัชจุฬา: สู่ศตวรรษหน้าเภสัชศาสตร์ไทย” (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย)

โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง “งานศึกษาต่อเนื่อง ฉลอง 111 ปีแห่งเภสัชจุฬา: สู่ศตวรรษหน้าเภสัชศาสตร์ไทย” (Celebrating 111 Years of Pharm Chula: To the Next Century of Thai Pharmacy) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เวลา 8.30 – 15.00 น. ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการถ่ายทอดออนไลน์ ผ่านทาง Facebook Live CPE 3.00 Credits หลักการและเหตุผล              ด้วยวาระที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉลองครบรอบ 111 ปี ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ....

โครงการอบรม เรื่อง “ปัญญาประดิษฐ์ทางเภสัชศาสตร์”

โครงการอบรม เรื่อง “ปัญญาประดิษฐ์ทางเภสัชศาสตร์” วันศุกรที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพมหานคร CPE 5.50 Credits หลักการและเหตุผล ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญและกำลังเข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินงานในภาคเภสัชกรรมอย่างมาก โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในหลากหลายด้าน เช่น การค้นพบและพัฒนายาใหม่ การวินิจฉัยและการรักษาโรค การจัดการสต็อกยา การติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย และการให้คำปรึกษาด้านยาแก่ผู้ป่วย เป็นต้น ดังนั้น เภสัชกรจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและการประยุกต์ใช้ AI ในงานเภสัชกรรม เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยและระบบสาธารณสุขได้อย่างเหมาะสม โครงการอบรมปัญญาประดิษฐ์ทางเภสัชศาสตร์นี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เภสัชกรได้เรียนรู้และเข้าใจหลักการพื้นฐานของ AI รวมถึงการประยุกต์ใช้ AI ในงานเภสัชกรรมในด้านต่างๆ ตลอดจนได้ทราบถึงประเด็นด้านกฎหมาย จริยธรรม และความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เภสัชกรสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ เพื่อให้เภสัชกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของปัญญาประดิษฐ์ และการประยุกต์ใช้ในงานเภสัชกรรม เพื่อให้เภสัชกรสามารถนำความรู้เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ของ     เภสัชกรรม เช่น การค้นพบและพัฒนายาใหม่ การออกแบบกระบวนการผลิต การผลิต...

เรื่อง “Driving sustainability in the pharmaceutical industry” (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย)

โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง “Driving sustainability in the pharmaceutical industry” งานประชุมออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom webinar วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. CPE 3.00 Credits หลักการและเหตุผล ด้วยวาระที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉลองครบรอบ 111 ปี ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระดังกล่าวและแสดงศักยภาพทางด้านวิชาการของคณะให้เป็นที่ประจักษ์แก่วงวิชาชีพเภสัชศาสตร์ กรรมการบริหารคณะได้เสนอให้มีการจัดงานวิชาการศึกษาต่อเนื่อง      โดยเป็นความร่วมมือของทุกภาควิชาและทุกภาคส่วนในคณะ ซึ่งกำหนดจะจัดงานศึกษาต่อเนื่อง ฉลอง 111 ปีแห่งเภสัชจุฬา: สู่ศตวรรษหน้าเภสัชศาสตร์ไทย (Celebrating 111 Years of Pharm Chula: To the Next Century of Thai...

เรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”

โครงการอบรม เรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่” วันที่ 11 ธันวาคม 2567 เวลา 9:00 – 12:15 น. ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Zoom Webinar CPE 3.00 Credits หลักการและเหตุผล ด้วยวาระที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉลองครบรอบ 111 ปี ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระดังกล่าวและแสดงศักยภาพทางด้านวิชาการของคณะให้เป็นที่ประจักษ์แก่วงวิชาชีพเภสัชศาสตร์ กรรมการบริหารคณะได้เสนอให้มีการจัดงานวิชาการศึกษาต่อเนื่อง      โดยเป็นความร่วมมือของทุกภาควิชาและทุกภาคส่วนในคณะ ซึ่งกำหนดจะจัดงานศึกษาต่อเนื่อง ฉลอง 111 ปีแห่งเภสัชจุฬา: สู่ศตวรรษหน้าเภสัชศาสตร์ไทย (Celebrating 111 Years of Pharm Chula: To the Next Century of Thai Pharmacy) ในระหว่างวันที่...

เรื่อง Pharmacotherapy in Infectious Diseases ครั้งที่ 13 Pharmaceutical care in infectious disease: Navigating New Guidelines in Infectious Disease Management

เรื่อง Pharmacotherapy in Infectious Diseases ครั้งที่ 13 Pharmaceutical care in infectious disease: Navigating New Guidelines in Infectious Disease Management  ผ่านโปรแกรม Zoom webinar วันเสาร์ที่ 14-วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2567 CPE 12.00 Credits หลักการและเหตุผล โรคติดเชื้อเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ พบได้บ่อยในทุกกลุ่มผู้ป่วย และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกระบบของร่างกาย มีระดับความรุนแรงตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงแก่ชีวิตได้ ประกอบกับปัญหาเชื้อจุลชีพดื้อยาที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน การรักษาโรคติดเชื้อที่สำคัญส่วนใหญ่ต้องอาศัยยาต้านจุลชีพ การพิจารณาเลือกใช้ยาต้านจุลชีพได้อย่างสมเหตุผล ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในระบบต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมและกำกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม จะส่งผลให้ลดปัญหาเชื้อจุลชีพดื้อยา ลดระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาล ลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการรักษาพยาบาล รวมทั้งลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ การมีเภสัชกรเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมสหสาขาวิชาชีพในการปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคติดเชื้อ จะช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล และช่วยลดปัญหาดังกล่าวลงได้ส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตามการที่เภสัชกรจะปฏิบัติงานดังกล่าวให้เกิดผลสัมฤทธิ์นั้น จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนร่วมกัน องค์ประกอบส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญมาก คือ องค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ คุณสมบัติของยาต้านจุลชีพชนิดต่าง...

โครงการอบรม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของแบคทีเรียกรดแอซีติก (Health Products of Acetic Acid Bacteria)

โครงการอบรม เรื่อง ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของแบคทีเรียกรดแอซีติก (Health Products of Acetic Acid Bacteria) วันที่ 17 ธันวาคม 2567 ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Zoom webinar) CPE 3.00 Credits หลักการและเหตุผล           ในปัจจุบัน ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติและมีผลดีต่อร่างกาย หนึ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นคือผลิตภัณฑ์จากแบคทีเรียกรดแอซีติก (acetic acid bacteria) แบคทีเรียกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญในการหมักอาหารและเครื่องดื่ม เช่น น้ำส้มสายชูและคอมบูชา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในด้านคุณสมบัติที่ส่งเสริมสุขภาพและเป็นแหล่งสำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังช่วยในกระบวนการย่อยอาหาร การควบคุมน้ำตาลในเลือด และการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ผลิตภัณฑ์จากแบคทีเรียกรดแอซีติกไม่เพียงแต่เป็นเครื่องดื่มหรืออาหาร แต่ยังเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีความหลากหลายมากขึ้น ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแบคทีเรียเหล่านี้จึงมีความสำคัญต่อทั้งผู้ประกอบการและชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีประสิทธิภาพและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ           แบคทีเรียกรดแอซีติก และ/หรือแบคทีเรียกรดน้ำส้มสายชู เซลล์มีรูปร่างรี (ellipsoidal) ถึงเป็นท่อน (rod)...

เรื่อง การตีความและการประยุกต์ใช้ ข้อกำหนด ISO/IEC 17025:2017 และแนวทางในการบริหารการตรวจติดตามระบบคุณภาพ

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การตีความและการประยุกต์ใช้ ข้อกำหนด ISO/IEC 17025:2017 และแนวทางในการบริหารการตรวจติดตามระบบคุณภาพ วันที่ 18-20 ธันวาคม 2567 ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการประชุมออนไลน์ผ่านทาง Zoom Webinar CPE 15.00 Credits หลักการและเหตุผล ISO/IEC 17025:2017 เป็นมาตรฐานสากลที่ร่วมระหว่าง International Organization for Standardization  กับ International Electrotechnical Commission เพื่อกำหนดข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้อง ปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบให้มีมาตรฐานไปในทางเดียวกัน ประกอบด้วยข้อกำหนดด้านการบริหารงานคุณภาพและข้อกำหนดด้านวิชาการ โดยสามารถนำมาใช้ได้กับทุกองค์กรที่มีการดำเนินกิจกรรมทดสอบและ/หรือสอบเทียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องปฏิบัติการสอบเทียบและทดสอบด้านตรวจวิเคราะห์ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับในการดำเนินการทดสอบและสอบเทียบ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการดำเนินงานตามระบบคุณภาพ และส่งผลให้ผลการทดสอบและสอบเทียบถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ เมื่อห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองแล้ว สามารถสร้างความมั่นใจในผลของการทดสอบว่าถูกต้องตามขอบข่ายที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 ช่วยให้ห้องปฏิบัติการมีความได้เปรียบในการแข่งขัน การตรวจติดตามคุณภาพภายในเป็นข้อกำหนดในมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 ซึ่งเป็นการตรวจสอบระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการทดสอบ / สอบเทียบ เพื่อให้มั่นใจว่าห้องปฏิบัติการ มีการรักษาระบบการ...

เรื่อง 16th Conference on Drug Quality: “Drug Specification, from Small Molecules to Biologics”

โครงการอบรม เรื่อง 16th Conference on Drug Quality: “Drug Specification, from Small Molecules to Biologics” ระหว่างวันที่ 19 - 20 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ ห้อง ราชเทวีแกรนด์บอลลูน CPE  12 credit หลักการและเหตุผล           ในปัจจุบันมีผู้ผลิตและผู้นำเข้าเภสัชภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีอัตราการแข่งขันในทางการตลาดอย่างสูง เพื่อผลักดันให้เภสัชภัณฑ์ของตนได้รับคัดเลือกให้เข้าสู่โรงพยาบาล เนื่องจากยาเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพทั้งในด้านประสิทธิผล (Efficacy) และความปลอดภัย (Safety) ในการรักษา ดังนั้นปัจจัยสำคัญที่จะต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกในกระบวนการคัดเลือกเภสัชภัณฑ์เข้าสู่โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุขคือคุณภาพ (Quality) ของเภสัชภัณฑ์ที่ช่วยยืนยันประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้ยานั้นๆ ข้อกำหนดมาตรฐานด้านคุณภาพยา (Drug Specification) เป็นข้อมูลสำคัญจากผู้ผลิตที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของเภสัชภัณฑ์ รวมถึงเอกสารต่างๆ อาทิเช่น ใบรับรองผลการทดสอบเภสัชวิเคราะห์...

เรื่อง Up-to-date Treatments: Biologics, Elderly Medications and Cancer Drugs

การประชุมวิชาการ เรื่อง Up-to-date Treatments: Biologics, Elderly Medications and Cancer Drugs งานประชุมทางออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom webinar วันที่ 18 และ 25 มกราคม และวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 8.30-12.00 น. CPE  9.00 credit หลักการและเหตุผล           การเปลี่ยนแปลงของวิทยาการทางการแพทย์และเภสัชกรรมได้พัฒนาอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาของชีวเภสัชภัณฑ์ (Biologics) การรักษาโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) การบรรเทาอาการปวดจากเส้นประสาท (Antineuropathic Pain) การใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ และการรักษาใหม่ในกลุ่มยาต้านมะเร็ง (Anti-cancer drugs) การพัฒนาวิธีการรักษาและยาที่เกี่ยวข้องกับสาขาเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย รวมทั้งยังช่วยในการป้องกันและรักษาโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและผู้ป่วยมะเร็ง ในบริบทของสังคมไทยที่มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การส่งเสริมการรักษาและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก นอกจากนี้ การใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเสริมที่สกัดจากพืชสมุนไพรไทย ยังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบในท้องถิ่น...

เรื่อง Advances in Pharmacotherapy for Breast Cancer: A Spotlight on Trastuzumab Deruxtecan

การประชุมวิชาการ เรื่อง Advances in Pharmacotherapy for Breast Cancer: A Spotlight on Trastuzumab Deruxtecan งานประชุมทางออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom webinar วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2568 หลักการและเหตุผล มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงทั่วโลก และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในกลุ่มมะเร็งที่ส่งผลต่อผู้หญิง จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2020 พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 2.3 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตกว่า 685,000 คน ทั่วโลก ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ อายุที่เพิ่มขึ้น, การมีประวัติครอบครัว, การสัมผัสฮอร์โมนเพศหญิง (เช่น การใช้ฮอร์โมนเสริมหลังหมดประจำเดือน), พฤติกรรมการใช้ชีวิต (อาทิ การดื่มแอลกอฮอล์, การไม่ออกกำลังกาย), และภาวะอ้วน สำหรับในประเทศไทย มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงไทย โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายงานจาก Global Cancer...