การรักษาโรคเครียด วิตกกังวล และนอนไม่หลับในร้านยา Stress, Anxiety and Insomnia Management in Community Pharmacy

การอบรมทางวิชาการสำหรับเภสัชกร ชื่อโครงการ การรักษาโรคเครียด วิตกกังวล และนอนไม่หลับในร้านยา Stress, Anxiety and Insomnia Management in Community Pharmacy วันที่ 12 พฤศจิกายน 2566  เวลา 10.00 – 12.00 น.  ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM WEBINAR (CPE 1.50 Credit) หลักการและเหตุผล เภสัชกรชุมชน เป็นบทบาทสาคัญในการให้บริการและบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ประชาชนในชุมชน ถือเป็นการให้บริการทางด้านสุขภาพที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายเป็นอันดับต้น ๆ ความรู้ความสามารถในการ ประเมินและจัดการกับโรคที่พบได้บ่อยจึงเป็นทักษะที่จำเป็น ปัจจุบันประชาชนมีการเผชิญหน้ากับปัญหาของ เศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ ส่งผลให้มีอัตราการเกิดโรคทางด้านระบบประสาทมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาการเครียด อาการวิตกกังวล นำมาสู่ภาวะโรคนอนไม่หลับ โรควิตกกังวลอาจเกิดจากสถานการณ์ ณ ขณะหนึ่งที่คนไข้กำลังเผชิญหน้าอยู่ ซึ่งโรควิตกกังวลอาจนำ ไปสู่การแสดงออกต่างๆ ทางด้านร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบเหนื่อย สายตาพร่ามัว เป็นต้น ด้านความคิด เช่น...

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับยาผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง Course No. 4.2: Process Validation Biotechnology Manufacturing (หลักสูตรด้าน :Process Validation ขั้นสูง)

Course No. 4.2: Process Validation Biotechnology Manufacturing (หลักสูตรด้าน :Process Validation ขั้นสูง) ระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมปทุมวันปริ้นเซส กรุงเทพฯ หลักกการและเหตุผล ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Products; ATMPs) ซึ่งนิยมเรียกในประเทศในยุโรป หรือเซลล์และยีนบำบัด (Cellular and Gene Therapy, CGT) ซึ่งเป็นคำที่นิยมเรียกในสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิต ยีนหรือสารพันธุกรรม และเซลล์หรือเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตที่สามารถใช้ฟื้นฟู ซ่อมแซม และทดแทนเนื้อเยื่อในร่างกายมนุษย์ ATMPs จัดเป็นยาที่มีชีวิต (living drugs) สามารถเพิ่มจำนวน ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นต่างๆ และเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติในร่างกายผู้ป่วยได้ การผลิต ATMPs/CGT ต้องทำภายใต้กระบวนการผลิตที่จำเพาะต่อบุคคล โดยการเก็บเซลล์จากผู้ป่วย ก่อนจะถูกส่งไปยังสถานที่ผลิตเพื่อผ่านกระบวนการผลิต และส่งกลับมายังโรงพยาบาลเพื่อบริหารยาแก่ผู้ป่วย ปัจจุบันมีการใช้ยากลุ่มนี้รักษาโรคมะเร็ง และแก้ไขความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นมาก่อน ในประเทศไทย มีนักวิจัยจำนวนมากที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์...

การประชุมวิชาการ เรื่อง Pharmacotherapy in Infectious Diseases ครั้งที่ 12 Pharmaceutical care in infectious disease: Updated knowledge after COVID-19 Era

การประชุมวิชาการ เรื่อง Pharmacotherapy in Infectious Diseases ครั้งที่ 12 Pharmaceutical care in infectious disease: Updated knowledge after COVID-19 Era งานประชุมทางออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom webinar วันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2566    หลักการและเหตุผล โรคติดเชื้อเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ พบได้บ่อยในทุกกลุ่มผู้ป่วย และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกระบบของร่างกาย มีระดับความรุนแรงตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงแก่ชีวิตได้ ประกอบกับปัญหาเชื้อจุลชีพดื้อยาที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน การรักษาโรคติดเชื้อที่สำคัญส่วนใหญ่ต้องอาศัยยาต้านจุลชีพ การพิจารณาเลือกใช้ยาต้านจุลชีพได้อย่างสมเหตุผล ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในระบบต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมและกำกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม จะส่งผลให้ลดปัญหาเชื้อจุลชีพดื้อยา ลดระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาล ลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการรักษาพยาบาล รวมทั้งลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ การมีเภสัชกรเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมสหสาขาวิชาชีพในการปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคติดเชื้อ จะช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล และช่วยลดปัญหาดังกล่าวลงได้ส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตามการที่เภสัชกรจะปฏิบัติงานดังกล่าวให้เกิดผลสัมฤทธิ์นั้น จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนร่วมกัน องค์ประกอบส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญมาก คือ องค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ คุณสมบัติของยาต้านจุลชีพชนิดต่าง ๆ ความก้าวหน้าทางการแพทย์สมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้ยาบำบัดรักษาโรคติดเชื้อในยุคของเชื้อดื้อยาอย่างสมเหตุผล รวมทั้งแนวทางการปรับใช้ยาต้านจุลชีพให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อในสภาวะต่าง...

การรักษาโรคเครียด วิตกกังวล และนอนไม่หลับในร้านยา Stress, Anxiety and Insomnia Management in Community Pharmacy (รุ่นที่ 2)

การอบรมทางวิชาการสำหรับเภสัชกร ชื่อโครงการ การรักษาโรคเครียด วิตกกังวล และนอนไม่หลับในร้านยา Stress, Anxiety and Insomnia Management in Community Pharmacy (รุ่นที่ 2) วันที่ 26 พฤศจิกายน 2566  เวลา 10.00 – 12.00 น.  ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM WEBINAR (CPE 1.50 Credit) หลักการและเหตุผล เภสัชกรชุมชน เป็นบทบาทสาคัญในการให้บริการและบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ประชาชนในชุมชน ถือเป็นการให้บริการทางด้านสุขภาพที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายเป็นอันดับต้น ๆ ความรู้ความสามารถในการ ประเมินและจัดการกับโรคที่พบได้บ่อยจึงเป็นทักษะที่จำเป็น ปัจจุบันประชาชนมีการเผชิญหน้ากับปัญหาของ เศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ ส่งผลให้มีอัตราการเกิดโรคทางด้านระบบประสาทมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาการเครียด อาการวิตกกังวล นำมาสู่ภาวะโรคนอนไม่หลับ โรควิตกกังวลอาจเกิดจากสถานการณ์ ณ ขณะหนึ่งที่คนไข้กำลังเผชิญหน้าอยู่ ซึ่งโรควิตกกังวลอาจนำ ไปสู่การแสดงออกต่างๆ ทางด้านร่างกาย เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบเหนื่อย สายตาพร่ามัว เป็นต้น...

โครงการอบรม เรื่อง 14th Conference on Drug Quality: “Upskill and Reskill in Pharmaceutical Specification – From Basic to Application”

โครงการอบรม เรื่อง 14th Conference on Drug Quality:  “Upskill and Reskill in Pharmaceutical Specification – From Basic to Application” ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2566 ณ โรงแรม The Twin Towers Hotel Bangkok ห้องประชุมกษัตริย์ศึก  หลักการและเหตุผล ในปัจจุบันมีผู้ผลิตและผู้นำเข้าเภสัชภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีอัตราการแข่งขันในทางการตลาดอย่างสูง เพื่อผลักดันให้เภสัชภัณฑ์ของตนได้รับคัดเลือกให้เข้าสู่โรงพยาบาล เนื่องจากยาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพทั้งในด้านประสิทธิผล (Efficacy) และความปลอดภัย (Safety) ในการรักษา ดังนั้นปัจจัยสำคัญที่จะต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกในกระบวนการคัดเลือกเภสัชภัณฑ์เข้าสู่โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุขคือคุณภาพ (Quality) ของเภสัชภัณฑ์ที่ช่วยยืนยันประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้ยานั้นๆ ข้อกำหนดมาตรฐานด้านคุณภาพยา (Drug Specification) เป็นข้อมูลสำคัญจากผู้ผลิตที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของเภสัชภัณฑ์ รวมถึงเอกสารต่างๆอาทิเช่น ใบรับรองผลการทดสอบเภสัชวิเคราะห์ (Certificate of Analysis)...

เรื่อง Alternative solutions to increase access to high-cost care: Where are we?

โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง Alternative solutions to increase access to high-cost care: Where are we? วันที่ 15 ธันวาคม 2566 ณ โรงแรมคราวน์พลาซ่า กรุงเทพมหานคร หลักการและเหตุผล สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นสิทธิการรักษาที่ถูกจัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2545 โดยครอบคลุมประชากรส่วน ใหญ่ในประเทศไทย ทําให้ประชากรชาวไทยได้เข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคง พยายามเพิ่มการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง จึงมีการประยุกต์ใช้การประเมินเทคโนโลยีทางสุขภาพ (Health Technology Assessment (HTA)) โดยได้ก่อตั้งโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP)) ในปีพ.ศ. 2550 เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และวิเคราะห์ผลกระทบงบประมาณหากนํายาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติและให้มีการเบิกจ่าย ยาในประเทศไทย เพื่อเป็นข้อมูลสําหรับช่วยในการตัดสินใจเชิงนโยบายร่วมกับข้อมูลประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาในปัจจุบัน การรักษารวมถึงยาส่วนใหญ่มีราคาสูงขึ้นร่วมกับงบประมาณของประเทศที่มีจํากัด ทําให้การรักษาหรือยาบางส่วนที่มีราคาแพงไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และมีผลกระทบทางงบประมาณที่สูง ส่งผลให้การรักษานั้นไม่ถูกบรรจุเข้าไปในบัญชียาหลักแห่งชาติและไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทําให้ความจําเป็นทางสุขภาพที่ไม่ได้รับการตอบสนอง (Unmet health need) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากค่าความเต็มใจที่จะจ่าย...

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้ประโยชน์โพรไบโอติกและการประเมินคุณสมบัติด้วยผลการวิเคราะห์จีโนม (Application of Probiotics and Property Evaluation using Genomic)

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การใช้ประโยชน์โพรไบโอติกและการประเมินคุณสมบัติด้วยผลการวิเคราะห์จีโนม (Application of Probiotics and Property Evaluation using Genomic) วันที่ 21-22 ธันวาคม 2566 ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Zoom Webinar หลักการและเหตุผล โพรไบโอติก (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์และสัตว์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้โดยการนำมาเติมในอาหารหรือใช้รับประทานเพื่อช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ของเจ้าบ้าน (host)  โพรไบโอติกเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมและดูแลสุขภาพ และได้มีการศึกษาอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการศึกษาฤทธิ์ป้องกันการติดเชื้อ และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคที่รุนแรง  แบคทีเรียกรดแลกติกที่เป็นโพรไบโอติกมีความสามารถสร้างสารแบคเทอริโอซินและกรดออร์แกนิคที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อก่อโรค และไม่มีการเหนี่ยวนำให้เกิดการดื้อยา ทั้งยังสามารถ ปรับระดับภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงการป้องกันการบุกรุก ยึดเกาะของจุลินทรีย์ก่อโรคอื่น ๆ อีกมากมาย ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกมากมายทั้งชนิดเม็ด ชนิดเหลว และชนิดผง ซึ่งอาจมีส่วนช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคได้ ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแบคทีเรียในกลุ่มที่สร้างกรดแลกติก (Lactic Acid Bacteria, LAB) ได้แก่ Lactobacillus species, Bifidobacterium species, Pediococcus...

โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพของอาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ เรื่อง “clinical supervision”

โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพของอาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ เรื่อง “clinical supervision” งานประชุมทางออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom webinar วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 CPE 3.00 Credits หลักการและเหตุผล  ตามที่คณะเภสัชศาสตร์  ได้ปรับปรุงหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) และได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนรายวิชาแบบบูรณาการตามแผนการดำเนินงานของหลักสูตรปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่อง  โดยในหลักสูตรประกอบด้วยรายวิชาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพหลายรายวิชาตั้งแต่ระดับชั้นปีที่ 3, 4 และ 6 รวมจำนวนชั่วโมงฝึกปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่า 2,000 ชั่วโมง ตามข้อกำหนดเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตโดยสภาเภสัชกรรม ซึ่งการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ เพื่อช่วยให้นิสิตบรรลุผลลัพธ์ของการเรียนรู้ตามแนวทาง Outcome based  education จึงมีความจำเป็นที่อาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพทุกท่าน จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับ clinical supervision ได้แก่ questioning  feedback และ mentoring/coaching เพื่อการดูแลนิสิตให้ได้ผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ของรายวิชา และหลักสูตรฯ หน่วยฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ และหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพของอาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเรื่อง “clinical supervision”...

Crash Course for Clinical Translation of Advanced Therapeutic Medicinal Products

Crash Course for Clinical Translation of Advanced Therapeutic Medicinal Products  วันที่ 21-22 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ หลักกการและเหตุผล ผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Products; ATMPs) ซึ่งนิยมเรียกในประเทศในยุโรป หรือเซลล์และยีนบำบัด (Cellular and Gene Therapy, CGT) ซึ่งเป็นคำที่นิยมเรียกในสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิต ยีนหรือสารพันธุกรรม และเซลล์หรือเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตที่สามารถใช้ฟื้นฟู ซ่อมแซม และทดแทนเนื้อเยื่อในร่างกายมนุษย์ ATMPs จัดเป็นยาที่มีชีวิต (living drugs) สามารถเพิ่มจำนวน ตอบสนองต่อตัวกระตุ้นต่างๆ และเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติในร่างกายผู้ป่วยได้ การผลิต ATMPs/CGT ต้องทำภายใต้กระบวนการผลิตที่จำเพาะต่อบุคคล โดยการเก็บเซลล์จากผู้ป่วย ก่อนจะถูกส่งไปยังสถานที่ผลิตเพื่อผ่านกระบวนการผลิต และส่งกลับมายังโรงพยาบาลเพื่อบริหารยาแก่ผู้ป่วย ปัจจุบันมีการใช้ยากลุ่มนี้รักษาโรคมะเร็ง และแก้ไขความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นมาก่อน ในประเทศไทย มีนักวิจัยจำนวนมากที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ ATMPs/CGT...

โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพของอาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ เรื่อง “Community pharmacy supervision”

โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพของอาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ เรื่อง “Community pharmacy supervision” งานประชุมทางออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom webinar วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 CPE 3.00 Credits หลักการและเหตุผล  ตามที่คณะเภสัชศาสตร์  ได้ปรับปรุงหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) และได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนรายวิชาแบบบูรณาการตามแผนการดำเนินงานของหลักสูตรปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่อง  โดยในหลักสูตรประกอบด้วยรายวิชาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพหลายรายวิชาตั้งแต่ระดับชั้นปีที่ 3, 4 และ 6 รวมจำนวนชั่วโมงฝึกปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่า 2,000 ชั่วโมง และเป็นส่วนของการฝึกปฏิบัติงาน ณ ร้านยา ไม่ต่ำกว่า 200 ชั่วโมงในการฝึกปฏิบัติงานภาคบังคับตามข้อกำหนดเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตโดยสภาเภสัชกรรม ซึ่งการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ เพื่อช่วยให้นิสิตบรรลุผลลัพธ์ของการเรียนรู้ตามแนวทาง Outcome based  education จึงมีความจำเป็นที่อาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพทุกท่าน จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจแนวทางการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในร้านยา เพื่อการดูแลนิสิตให้ได้ผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ของรายวิชา และหลักสูตรฯ หน่วยฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ และหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมศักยภาพของอาจารย์เภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ ณ ร้านยา เรื่อง...

39th International Annual Meeting in Pharmaceutical Sciences (IAMPS39)

39th International Annual Meeting in Pharmaceutical Sciences (IAMPS39) March 19-20, 2024 at Amari Bangkok Hotel (Amari Watergate), Bangkok The Faculty of Pharmaceutical Sciences, Chulalongkorn University, has organized a conference to present research findings in the field of pharmacy, including pharmaceutical sciences and health sciences. This conference is a continuous event and is considered the longest-standing...

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ เรื่อง “สารสำคัญในสมุนไพรและการทดสอบกลุ่มสารสำคัญเบื้องต้น”

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ เรื่อง “สารสำคัญในสมุนไพรและการทดสอบกลุ่มสารสำคัญเบื้องต้น” วันที่ 11-12 พฤษภาคม 2567  ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรูปแบบการบรรยาย และการฝึกปฏิบัติการ CPE 9.00 Credits หลักการและเหตุผล  ปัจจุบันผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นที่นิยมใช้ และแพร่หลายในท้องตลาดและโลกออนไลน์ ผู้บริโภคและผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ ควรรู้จักและเข้าใจความรู้เบื้องต้นของสมุนไพร ในแง่ขององค์ประกอบทางเคมีและการตรวจสอบเบื้องต้น เนื่องจากความรู้เกี่ยวกับสารสำคัญในสมุนไพร เป็นพื้นฐานสำคัญในการเข้าใจเกี่ยวกับฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดสมุนไพร การควบคุมคุณภาพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ผู้สนใจได้ค้นคว้าเกี่ยวกับสมุนไพรนั้น ๆ ได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านสารสำคัญในสมุนไพรและการทดสอบกลุ่มสารสำคัญ จึงได้จัดอบรมเพื่อเสริมความรู้ดังกล่าว ให้กับเภสัชกร ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร และผู้สนใจ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสารสำคัญในสมุนไพรและการทดสอบกลุ่มสารสำคัญ เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดพัฒนางานวิจัยหรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผู้เข้าร่วมอบรม เภสัชกร ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร และผู้สนใจ จำนวน 50 ท่าน กำหนดการอบรม ผู้สนใจเข้าร่วมประชุมสามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ (https://www.ce.pharm.chula.ac.th/) หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณราตรี ลี้จันทรากุล หน่วยการศึกษาต่อเนื่อง โทรศัพท์...