การประชุมวิชาการออนไลน์ (webinar) เรื่อง บทบาทเภสัชกรในการจัดการผู้ป่วยอาการหลงลืม-ภาวะสมองเสื่อม
การประชุมวิชาการออนไลน์ (webinar) เรื่อง บทบาทเภสัชกรในการจัดการผู้ป่วยอาการหลงลืม-ภาวะสมองเสื่อม วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 10.30 - 12.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ Zoom webinar (CPE 1.50 Credit) อัตราค่าลงทะเบียน ไม่เสียค่าลงทะเบียน Registration ส่งคำถาม(ล่วงหน้า)
การประชุมวิชาการ เรื่อง PHARMACOTHERAPY IN CARDIOMETABOLIC DISEASES ครั้งที่ 13
การประชุมวิชาการ เรื่อง PHARMACOTHERAPY IN CARDIOMETABOLIC DISEASES ครั้งที่ 13 วันที่ 21 - 23 กันยายน พ.ศ. 2565 ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร และผ่านระบบออนไลน์ ZOOM WEBINAR (CPE 18.00 Credit) ที่มาและเหตุผล คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยความร่วมมือของ ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ ฝ่ายวิชาการ หน่วยฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ และหน่วยการวิชาการภายใต้หัวข้อการประชุมวิชาการเรื่อง Pharmacotherapy in Cardiometabolic Diseases ครั้งที่ 13 ขึ้น เนื่องจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคที่พบได้มากในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้น ๆ ของผู้ป่วยในประเทศไทย อัตราที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่เหมาะสม การขาดการออกกำลังกาย และการมีอายุขัยที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม กระบวนการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและทันเวลา จะสามารถลดอัตราการเสียชีวิต ลดระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาล ลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยได้ การมีเภสัชกรเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมสหสาขาวิชาชีพในการปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจะช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามการที่เภสัชกรจะปฏิบัติงานดังกล่าวให้เกิดผลสัมฤทธิ์นั้น...
การประชุมวิชาการออนไลน์ (webinar) เรื่อง Season Change: Time to manage upcoming respiratory disease in COVID – 19 endemic
การประชุมวิชาการออนไลน์ (webinar) เรื่อง Season Change: Time to manage upcoming respiratory disease in COVID - 19 endemic วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 10.00 - 11.40 น. ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM WEBINAR (CPE 1.50 Credit) อัตราค่าลงทะเบียน ไม่เสียค่าลงทะเบียน Registration ส่งคำถาม(ล่วงหน้า)
การสัมมนาทางวิชาการในระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ (webinar) การดูแลและป้องกันปัญหารอยดำจากสิว (DERMATOLOGICAL ACNE DARK MARKS CORRECTION & PREVENTION)
การสัมมนาทางวิชาการในระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ (webinar) การดูแลและป้องกันปัญหารอยดำจากสิว (DERMATOLOGICAL ACNE DARK MARKS CORRECTION & PREVENTION) วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ 2565 เวลา 10.00 – 11.45 น. ผ่านระบบออนไลน์ Zoom webinar (CPE 1.00 Credit) ที่มาและเหตุผล "สิว (ACNE)" ปัญหาผิวอันดับต้นๆ ของผิวหน้า ที่ผู้บริโภคมักไปพบแพทย์ หรือปรึกษาเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำในดูแลและรักษาแก้ปัญหาสิว หรือแม้แต่ในสถานการณ์โควิด ก็พบว่าปัญหาผิวอันดับ 1 จากการใส่หน้ากากตามหลักการปฏิบัติตัวชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ก็คือปัญหาสิว หรือ MASKNE (มาส์กเน่) และปัญหาสิวยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคอีกด้วย เช่น ทำให้สูญเสียความมั่นใจ ไม่กล้าเข้าสังคม เป็นต้น เนื่องจากปัญหาสิวมีการแสดงออกของอาการแตกต่างกัน เช่น ใบหน้ามันเงา รูขุมขนกว้าง ผิวหน้าไม่เรียบเนียน (สิวอุดตัน) ตุ่มแดง...
การประชุมใหญ่สามัญ สภจ. ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ และการประชุมวิชาการ เรื่อง “เภสัชนวัตกรรมและบทบาทต่อสังคม” สมาคมนิสิตเก่าคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สภจ.)
การประชุมใหญ่สามัญ สภจ. ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ และการประชุมวิชาการ เรื่อง “เภสัชนวัตกรรมและบทบาทต่อสังคม” สมาคมนิสิตเก่าคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สภจ.) วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ผ่านระบบ Zoom Webinar (CPE 2.50 Credit) Registration ส่งคำถาม (ล่วงหน้า) กำหนดการประชุมวิชาการ
โครงการประชุมวิชาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพสำหรับเภสัชกร PHARMACY PRACTICE FOR HEALTH & WELLNESS ครั้งที่ 1 เรื่อง “TOWARDS BETTER CARE FOR COMMON SKIN PROBLEMS” หัวข้อ “ATOPIC DERMATITIS: DIAGNOSIS AND CARING”
โครงการประชุมวิชาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะวิชาชีพสำหรับเภสัชกร PHARMACY PRACTICE FOR HEALTH & WELLNESS ครั้งที่ 1 เรื่อง “TOWARDS BETTER CARE FOR COMMON SKIN PROBLEMS” หัวข้อ "ATOPIC DERMATITIS: DIAGNOSIS AND CARING" วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 10.00 – 12.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM WEBINAR (CPE 2.00 Credit) ที่มาและเหตุผล ผิวหนังเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายโดยนอกจากบทบาทหน้าที่ในการปกป้องอวัยวะภายใน ส่งเสริมสมดุลน้ำและแร่ธาตุ และรักษาอุณหภูมิร่างกายให้อยู่ในช่วงปกติ ผิวหนังยังมีความสำคัญต่อสุขภาพด้านจิตใจ การมีสุขภาพผิวหนังที่ไม่ดีส่งผลให้เกิดการสูญเสียความมั่นใจในตนเอง เกิดภาวะเครียดหรือซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ยังมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเข้าสังคม และจำกัดโอกาสการทำงาน การดูแลผิวหนังให้มีสุขภาพดีทั้งในภาวะปกติและเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นจึงมีความจำเป็นอย่างมาก แม้ว่าปัจจุบันกระแสการดูแลสุขภาพของประชาชนจะมีแนวโน้มพึ่งพาตนเองโดยการหาความรู้ผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ แต่การเข้ารับบริการจากเภสัชกรในร้านยายังคงเป็นช่องทางหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับเนื่องจากมีความน่าเชื่อถือสูง เข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว...
โครงการอบรม เรื่อง 11th Conference on Drug Quality: “Fundamentals behind Pharmaceutical Specification and Quality Requirement beyond Specification”
โครงการอบรม เรื่อง 11th Conference on Drug Quality: “Fundamentals behind Pharmaceutical Specification and Quality Requirement beyond Specification” ระหว่างวันที่ 24 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ณ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ กรุงเทพฯ หลักการและเหตุผล ในปัจจุบันมีผู้ผลิตและผู้นำเข้าเภสัชภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีอัตราการแข่งขันในทางการตลาดอย่างสูง เพื่อผลักดันให้เภสัชภัณฑ์ของตนได้รับคัดเลือกให้เข้าสู่โรงพยาบาล เนื่องจากยาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพทั้งในด้านประสิทธิผล (Efficacy) และความปลอดภัย (Safety) ในการรักษา ดังนั้นปัจจัยสำคัญที่จะต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกในกระบวนการคัดเลือกเภสัชภัณฑ์เข้าสู่โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุขคือคุณภาพ (Quality) ของเภสัชภัณฑ์ที่ช่วยยืนยันประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้ยานั้นๆ ข้อกำหนดมาตรฐานด้านคุณภาพยา (Drug Specification) เป็นข้อมูลสำคัญจากผู้ผลิตที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของเภสัชภัณฑ์ รวมถึงเอกสารต่างๆอาทิเช่น ใบรับรองผลการทดสอบเภสัชวิเคราะห์ (Certificate of Analysis) ข้อมูลความคงตัว (Stability Data) ล้วนเป็นเอกสารสำคัญที่บ่งชี้ถึงคุณภาพเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้การคัดเลือกเภสัชภัณฑ์เข้าโรงพยาบาลในปัจจุบันยังมีการพิจารณาถึง Price Performance ซึ่งการจัดทำและการประเมินข้อมูลดังกล่าวต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้ทางเภสัชศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถตอบโจทย์คุณภาพของเภสัชภัณฑ์สามารถจัดหายาที่ได้คุณภาพมาตรฐานในงบประมาณที่สมเหตุสมผลได้...
การสัมมนาทางวิชาการในระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ (webinar) เรื่อง ข้อเสื่อม โรคที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในร้านขายยา
การสัมมนาทางวิชาการในระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ (webinar) เรื่อง ข้อเสื่อม โรคที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในร้านขายยา วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 13.30 - 15.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ Zoom webinar (CPE 1.50 Credit) ที่มาและเหตุผล โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) เป็นโรคของข้อที่พบบ่อยที่สุดในประชากรทั่วๆ ไป โรคนี้เกิดขึ้นเนื่องจากกระดูกอ่อนที่อยู่ที่ปลายของกระดูกในข้อมีการเสื่อม การเสื่อมของกระดูกอ่อนทำให้มีการแตกกร่อนของกระดูกอ่อน ซึ่งนำไปสู่อาการฝืดข้อและเจ็บข้อได้ สภาวะหลายๆ อย่างนำไปสู่การเกิดภาวะเสื่อมของกระดูกอ่อน สภาวะเหล่านี้ ได้แก่ ความอ้วน อุบัติเหตุที่บริเวณข้อ กล้ามเนื้อรอบข้ออ่อนแรง เส้นประสาทรอบข้อเสียความสามารถในการรับความรู้สึก การอักเสบของเนื้อเยื่อหุ้มข้อ และส่วนน้อยเป็นผลจากพันธุกรรม โรคนี้พบได้ที่หลายๆ ข้อ โดยส่วนใหญ่มักเป็นกับข้อที่คอยรับน้ำหนักหรือข้อที่ต้องใช้งานมาก ข้อเหล่านี้ ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อของกระดูกสันหลังบริเวณหลังและลำคอ ข้อเล็กๆ ของนิ้วมือและข้อของนิ้วหัวแม่เท้า มักพบน้อยในข้อมือ ข้อศอก หรือข้อเท้า ยกเว้นแต่ว่าจะเกิดขึ้นหลังเกิดอุบัติเหตุ การติดเชื้อ หรือการใช้งานมากๆ...
โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช วันที่ 17 - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 9.00 น. – 16.00 น. ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CPE 9.00 Credit ) หลักการและเหตุผล เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เป็นวิธีหนึ่งในการเลี้ยงพืชที่สามารถขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนได้มาก เป็นประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม อีกทั้งยังประยุกต์ใช้เพื่องานทางด้านเภสัชกรรมได้ด้วย ปัจจุบันมีผู้สนใจนำเทคนิคนี้ไปใช้ในการทดลองเลี้ยงพืช เพิ่มเติมจากการปลูกแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ตามเทคนิคนี้จำเป็นต้องอาศัยความรู้และทักษะทางห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในการเลี้ยงพืชในสภาวะปราศจากเชื้อ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และ เทคนิคการทำให้ปราศจากเชื้อ จึงจะสามารถนำเทคนิคนี้ไปสู่การปฏิบัติได้จริง ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ มีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสมุนไพร เปิดการเรียนการสอนเทคนิคนี้มายาวนานนับสิบปี มีความพร้อมในด้านบุคลากรและห้องปฏิบัติการที่สามารถใช้เพื่อการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการได้ เราเล็งเห็นว่าการจัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้นี้จะมีส่วนช่วยให้เสริมศักยภาพของบุคลากรใหม่ของภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศได้ในที่สุด ภาควิชาฯ จึงเสนอจัดโครงการอบรมเชิงปฎิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชนี้ขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อให้เภสัชกรและผู้สนใจเข้าร่วมอบรมมีความรู้เบื้องต้นในการฝึกปฎิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช อัตราค่าลงทะเบียน ท่านละ 5,900 บาท วิธีการชำระค่าลงทะเบียนและส่งหลักฐานการชำระเงิน Registration จำนวน 20 คน ภายในวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม...
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Mild Surfactants: New Alternative for Gentle Toiletry สารลดแรงตึงผิวสูตรอ่อนโยน ทางเลือกใหม่ของผลิตภัณฑ์ชำระล้างชนิดเป็นมิตรต่อผิวหนัง
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Mild Surfactants: New Alternative for Gentle Toiletry สารลดแรงตึงผิวสูตรอ่อนโยน ทางเลือกใหม่ของผลิตภัณฑ์ชำระล้างชนิดเป็นมิตรต่อผิวหนัง วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักการและเหตุผล สารลดแรงตึงผิว (surface active agent : surfactant) นับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของเครื่องสำอางทั้งหมด การนำเอาสารลดแรงตึงผิวมาประยุกต์ใช้อุตสาหกรรมเครื่องสำอางนั้นมีอย่างกว้างขวางด้วยคุณประโยชน์มากมาย ในเครื่องสำอางนั้นสารลดแรงตึงผิวจะใช้สำหรับทำความสะอาด, เป็นสารก่อโฟม, เป็นสารเพิ่มความหนืด, เป็นสารก่ออิมัลชัน, เพิ่มการละลายและการซึมผ่านผิวหนังของสารสำคัญ อีกทั้งมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ คุณสมบัติที่เด่นของโมเลกุลสารลดแรงตึงผิว คือ เป็นสารที่มีคุณสมบัติเข้ากันได้กับทั้งน้ำและน้ำมัน สามารถเรียงตัวมีโครงสารพิเศษในรูปแบบไมเซลล์โดยส่วนที่ชอบไขมัน (lipophilic) จะหันเข้าหาไขมันและส่วนที่ชอบน้ำ (hydrophilic) ที่เข้ากับน้ำ การเรียงตัวนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิวที่ใช้ การนำเอาสารลดแรงตึงผิวมาใช้ในผลิตภัณฑ์ชำระล้าง ถือเป็นการประยุกต์ใช้ทั่วไปของสารลดแรงตึงผิวในเครื่องสำอาง เมื่อผิวหนังและเส้นผมสกปรกเกิดขึ้นจากสิ่งสกปรก 2 ประเภทด้วยกัน คือ อนุภาคของแข็ง หรือฝุ่นจากสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ...
การสัมมนาทางวิชาการในระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ (webinar) เรื่อง Weekend Talks Sit with Experts
การสัมมนาทางวิชาการในระบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ (webinar) เรื่อง Weekend Talks Sit with Experts วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 10.00 - 12.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM WEBINAR (CPE 2.00 Credit) ที่มาและเหตุผล ความรู้ทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจากความรู้ใหม่ๆ ที่ได้ทำการศึกษาและตีพิมพ์ออกมาในปัจจุบัน เภสัชกรควรมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรค การวินิจฉัยและการรักษาโดยองค์รวมอย่างเหมาะสม จึงสามารถให้คำแนะนำและคำปรึกษาในด้านยาแก่บุคลากรทางการแพทย์อื่นและผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง บริษัทเอ. เมนารินี ได้เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคหัวใจหลายท่านมาบรรยายในรูปแบบ face to face ควบคู่ไปกับ webinar เภสัชกรสามารถเข้าฟังได้จากทุกที่ที่สะดวกและทางบริษัทฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมนี้จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ในศาสตร์ทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่มากก็น้อย วัตถุประสงค์ การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ในด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด อัตราค่าลงทะเบียน ไม่เสียค่าลงทะเบียน Registration ส่งคำถาม(ล่วงหน้า)
เสวนาวิชาการ เรื่อง มาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์เกษตรเพื่องานทางวิทยาศาสตร์
เสวนาวิชาการ เรื่อง มาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์เกษตรเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เวลา 13.15 - 16.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ Zoom webinar หลักการและเหตุผล มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติในการเลี้ยงและใช้สัตว์เกษตรเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการกรณีที่มีการนำสัตว์เกษตรต่างๆ มาใช้ในงานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มีระบบการจัดการให้สัตว์เกษตรเหล่านั้นได้มีสวัสดิภาพที่ดี มีความเป็นอยู่ที่ดี ไม่เครียด ไม่เจ็บปวดทรมาน และไม่ติดเชื้อ การเลี้ยงและใช้สัตว์เกษตรดังกล่าว ต้องมีการจัดการอาคาร สถานที่ มีระบบการจัดการที่ดี มีระบบการเลี้ยงที่ดี มีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค สารพิษหรือมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และมีการวางแผนการใช้สัตว์เกษตรที่ถูกต้องสอดคล้องกับจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นมาตรฐานสากล ทั้งนี้ ในการดำเนินการ “โครงการพัฒนามาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์เกษตรเพื่องานทางวิทยาศาสตร์” เพื่อจัดทำ “คู่มือการเลี้ยงและใช้สัตว์เกษตรเพื่องานทางวิทยาศาสตร์” ที่จะเป็นมาตรฐาน/ข้อกำหนด และเป็นแนวทางของการพัฒนามาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์เกษตรเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับสถาบัน นักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ของทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ที่มีความประสงค์จะใช้สัตว์เกษตรเป็นทางเลือกในงานทางวิทยาศาสตร์ เช่น ด้านการแพทย์ การสัตวแพทย์ การผลิต การทดสอบ การสอน การพัฒนาสายพันธุ์ หรือด้านการเกษตรที่จะช่วยต่อยอดทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรต่อไปในอนาคต ได้กำหนดให้มีจัดประชุมเสวนาทางวิชาการเชิงวิพากษ์...