การงดอาหารเป็นช่วงกับการลดน้ำหนัก Intermittent fasting and weight loss
การงดอาหารเป็นช่วงกับการลดน้ำหนัก Intermittent fasting and weight loss
ชื่อบทความ | การงดอาหารเป็นช่วงกับการลดน้ำหนัก Intermittent fasting and weight loss | |
ผู้เขียนบทความ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.ทิพวรรณ ศิริเฑียรทอง | |
สถาบันหลัก | คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
รหัสกิจกรรม | 1001-1-000-004-05-2563 | |
ผู้ผลิตบทความ | คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
การเผยแพร่บทความ | ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน | |
วันที่ได้รับการรับรอง | 13 พ.ค. 2563 | |
วันที่หมดอายุ | 12 พ.ค. 2564 | |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง | 2.5 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
การงดอาหารเป็นช่วงเป็นรูปแบบการแบ่งเวลารับประทานอาหาร ที่จัดเวลาการรับประทานอาหารสลับกับ การงดอาหารเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 12 ชั่วโมงขึ้นไป โดยไม่ได้ระบุชนิดอาหารที่ควรรับประทานหรืองดชัดเจน การงดอาหารเป็นช่วงมีหลายรูปแบบ เช่น งดอาหาร 16 ชั่วโมงต่อวัน งดอาหารวันเว้นวัน งดอาหาร 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นต้น ผลจากการทำให้ร่างกายขาดดุลพลังงานในช่วงที่ร่างกายงดอาหาร ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานที่สะสมในร่างกายจึงลดน้ำหนักลงได้ ปัจจุบันจึงมีผู้บริโภคให้ความสนใจทำการงดอาหารเป็นช่วงกันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามการงดอาหารเป็นช่วงอาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ได้แก่ อ่อนเพลีย มึนงง เหนื่อยล้า กระสับกระส่ายจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เสี่ยงต่อการขาดน้ำและสารอาหารหากรับประทานอาหารไม่เพียงพอ เป็นต้น นอกจากนี้อาจประสบปัญหาความต่อเนื่องในการปฏิบัติตามแผนเวลาการบริโภคอาหารที่กำหนดไว้ ผู้ที่มีความต้องการควบคุมน้ำหนักด้วยการงดอาหารเป็นช่วงจึงควรประเมินพฤติกรรมการดำเนินชีวิต นิสัยการรับประทานอาหาร และตรวจสุขภาพร่างกายของตนเองภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ตั้งแต่ก่อนเริ่มปฏิบัติและมีการตรวจเป็นระยะ รวมถึงมีการออกกำลังกายร่วมด้วยเพื่อการควบคุมน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพและให้ผลที่ดีในระยะยาว