สารป้องกันแสงแดดและวิธีการประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด

ชื่อบทความสารป้องกันแสงแดดและวิธีการประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด
ผู้เขียนบทความอาจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.รมย์ฉัตร ชูโตประพัฒน์
สถาบันหลักคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รหัสกิจกรรม1001-1-000-001-05-2563
ผู้ผลิตบทความคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเผยแพร่บทความผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน 
วันที่ได้รับการรับรอง06 พ.ค. 2563
วันที่หมดอายุ05 พ.ค. 2564
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง3 หน่วยกิต

บทคัดย่อ

แสงแดดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic radiation) ประกอบด้วยคลื่นความถี่ของรังสีหลายชนิด ได้แก่ รังสีอินฟราเรด 56% (ความยาวคลื่น 780-5000 นาโนเมตร) รังสีวิสิเบิลหรือแสงในช่วงที่ตามองเห็น 39% (ความยาวคลื่น 400-780 นาโนเมตร) และรังสีอัลตราไวโอเลตหรือยูวี 5% (ความยาวคลื่น 100-400 นาโนเมตร) มนุษย์สามารถรับรู้ถึงรังสีอินฟราเรดได้ในรูปของความร้อนเมื่อแสงแดดสัมผัสผิวหนังและรับรู้ถึงรังสีในช่วงวิสิเบิลได้ในรูปของการมองเห็นวัตถุเป็นสีต่างๆ ส่วนรังสีอัลตราไวโอเลตหรือยูวีเป็นรังสีที่มีผลต่อร่างกายของมนุษย์มากที่สุด หากได้รับรังสีดังกล่าวในปริมาณที่มากเกินพอดีจะส่งผลเสียต่อผิวหนัง เช่น การอักเสบ ริ้วรอยและมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น จึงควรรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงภัยร้ายจากแสงแดดและให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องผิวอย่างเหมาะสม

Similar Posts