จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม ตอน 2 ข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบวิชาชีพ
จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม ตอน 2 ข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบวิชาชีพ
ชื่อบทความ | ![]() | จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม ตอน 2 ข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบวิชาชีพ |
ผู้เขียนบทความ | ![]() | รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ |
สถาบันหลัก | ![]() | คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
รหัสกิจกรรม | ![]() | 1001-1-000-002-05-2563 |
ผู้ผลิตบทความ | ![]() | คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
การเผยแพร่บทความ | ![]() | ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน |
วันที่ได้รับการรับรอง | ![]() | 06 พ.ค. 2563 |
วันที่หมดอายุ | ![]() | 05 พ.ค. 2564 |
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง | ![]() | 2.5 หน่วยกิต |
บทคัดย่อ
สภาเภสัชกรรมได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยออกพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ มีการปรับปรุงนิยามศัพท์ “วิชาชีพเภสัชกรรม” ให้สอดคล้องกับการประกอบวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในปัจจุบัน คณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาพัฒนาและติดตามกฎหมายหรือร่างกฎหมายที่มีผลต่อการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในสภาเภสัชกรรมจึงนำข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ มาแก้ไขปรับปรุงให้ครอบคลุมนิยามศัพท์ใหม่ดังกล่าว และทำการเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในสาขาต่างๆ จากนั้นจึงนำเสนอคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมพิจารณาออกเป็นข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรรม พ.ศ. ๒๕๖๑ และยกเลิกข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อบังคับใหม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เป็นต้นไป มีนายกสภาเภสัชกรรมเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับและมีอำนาจออกประกาศเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ การออกข้อบังคับนี้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง (๔) (ณ) ประกอบกับมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งสรุปความได้ว่า ให้คณะกรรมการสภาเภสัชกรรมมีอํานาจหน้าที่ออกข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยข้อจํากัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานายกพิเศษ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) ก่อน จึงจะดําเนินการได้