สารป้องกันแสงแดดและวิธีการประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด

ชื่อบทความ สารป้องกันแสงแดดและวิธีการประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด ผู้เขียนบทความ อาจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.รมย์ฉัตร ชูโตประพัฒน์ สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รหัสกิจกรรม 1001-1-000-001-05-2563 ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน  วันที่ได้รับการรับรอง 06 พ.ค. 2563 วันที่หมดอายุ 05 พ.ค. 2564 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 3 หน่วยกิต บทคัดย่อ แสงแดดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic radiation) ประกอบด้วยคลื่นความถี่ของรังสีหลายชนิด ได้แก่ รังสีอินฟราเรด 56% (ความยาวคลื่น 780-5000 นาโนเมตร) รังสีวิสิเบิลหรือแสงในช่วงที่ตามองเห็น 39% (ความยาวคลื่น 400-780 นาโนเมตร) และรังสีอัลตราไวโอเลตหรือยูวี 5% (ความยาวคลื่น 100-400 นาโนเมตร) มนุษย์สามารถรับรู้ถึงรังสีอินฟราเรดได้ในรูปของความร้อนเมื่อแสงแดดสัมผัสผิวหนังและรับรู้ถึงรังสีในช่วงวิสิเบิลได้ในรูปของการมองเห็นวัตถุเป็นสีต่างๆ ส่วนรังสีอัลตราไวโอเลตหรือยูวีเป็นรังสีที่มีผลต่อร่างกายของมนุษย์มากที่สุด หากได้รับรังสีดังกล่าวในปริมาณที่มากเกินพอดีจะส่งผลเสียต่อผิวหนัง เช่น การอักเสบ ริ้วรอยและมะเร็งผิวหนัง…

จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม ตอน 2 ข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบวิชาชีพ

จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม ตอน 2 ข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบวิชาชีพ ชื่อบทความ จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม ตอน 2 ข้อจำกัดและเงื่อนไขการประกอบวิชาชีพ ผู้เขียนบทความ รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รหัสกิจกรรม 1001-1-000-002-05-2563 ผู้ผลิตบทความ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน  วันที่ได้รับการรับรอง 06 พ.ค. 2563 วันที่หมดอายุ 05 พ.ค. 2564 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต บทคัดย่อ สภาเภสัชกรรมได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยออกพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ มีการปรับปรุงนิยามศัพท์ “วิชาชีพเภสัชกรรม” ให้สอดคล้องกับการประกอบวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในปัจจุบัน คณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาพัฒนาและติดตามกฎหมายหรือร่างกฎหมายที่มีผลต่อการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในสภาเภสัชกรรมจึงนำข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรรม พ.ศ. ๒๕๔๐ มาแก้ไขปรับปรุงให้ครอบคลุมนิยามศัพท์ใหม่ดังกล่าว และทำการเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมในสาขาต่างๆ จากนั้นจึงนำเสนอคณะกรรมการสภาเภสัชกรรมพิจารณาออกเป็นข้อบังคับสภาเภสัชกรรม ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรรม พ.ศ….

การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในผู้สูงอายุ

บทความวิชาการการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในผู้สูงอายุ ชื่อบทความ การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในผู้สูงอายุ ผู้เขียนบทความ อ. ภญ.สิรินุช พละภิญโญ, ภญ.หทัยทิพย์ หอมแสงประดิษฐ, ภญ.วาทินี ลิ้มเลิศมงคล, ภญ.ปานชีวัน อินอ่อน สถาบันหลัก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รหัสกิจกรรม 1001-1-000-006-09-2562 ผู้ผลิตบทความ กลุ่มเครือข่ายเภสัชกร ร้านยา ซูรูฮะ การเผยแพร่บทความ ผู้ประกอบวิชาชีพทุกคน  วันที่ได้รับการรับรอง 04 ก.ย. 2562 วันที่หมดอายุ 03 ก.ย. 2563 หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 2.5 หน่วยกิต บทคัดย่อ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) เป็นยาที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในเวชปฏิบัติเนื่องจากเป็นยาที่มีข้อบ่งใช้เพื่อลดอาการปวดและการอักเสบจากสาเหตุต่าง ๆ ซึ่งเป็นอาการนำอาการสำคัญที่เป็นเหตุผลให้ผู้ป่วยเข้ารับบริการในสถานพยาบาลโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุซึ่งมักมีโรคที่เกี่ยวข้องกับความปวด เช่น ปวดข้อเข่าจากภาวะข้อเสื่อม หรือ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและเอ็นจากการที่มีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายลดลง แม้ว่า NSAIDs จะมีประโยชน์ในการบรรเทาความทุกข์ทรมานจากความปวดในผู้ป่วยเหล่านี้แต่ก็มีความเสี่ยงจากอาการไม่พึงประสงค์ของยากลุ่มนี้หลายประการซึ่งอาจมีความชุกและอันตรายมากขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ เช่น ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ความเป็นพิษต่อหัวใจและหลอดเลือด ความเป็นพิษต่อไต…