โครงการหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ปีที่ 1
โครงการหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม สาขาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ปีที่ 1 (Certificate short course training program in pharmaceutical care ) ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2567 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568 CPE 30.00 Credits หลักการและเหตุผล เภสัชกรเป็นหนึ่งในทีมสหสาขาวิชาชีพ ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจระบบและหลอดเลือด ที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อชะลอการดำเนินไปของโรคและป้องกันการเสียชีวิต รวมทั้งผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี หลักสูตรฯ นี้จะเตรียมความพร้อมเภสัชกรให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทางด้านบริบาลเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ให้มีคุณธรรม จริยธรรมและปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องและสามารถทำงานได้ด้วยตนเอง สามารถริเริ่มและพัฒนางานบริบาล เภสัชกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย และตอบสนองต่อนโยบายด้านสาธารณสุขของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ทั้งในลักษณะการให้บริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโดยตรง และการพัฒนาศักยภาพของทีมสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้จากการสัมผัสจริงในการให้บริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย และการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างอาจารย์และเภสัชกรวิชาชีพ หลักสูตรนี้มีนโยบายและยุทธศาสตร์สอดคล้องกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข ด้วยความตระหนักในความสำคัญของบทบาทเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจระบบและหลอดเลือดร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเล็งเห็นความสำคัญของเภสัชกรที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจระบบและหลอดเลือด...
โครงการหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปีที่ 1
โครงการหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปีที่ 1 Certificate short course training program in pharmaceutical care in stroke patients ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2568 CPE 30.00 Credits หลักการและเหตุผล โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ องค์การอนามัยโลกรายงานการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก มีจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลก 17 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 6.5 ล้านคน สำหรับประเทศไทยพบโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยพบเป็นอันดับที่ 1 ในเพศหญิง และอันดับที่ 2 ในเพศชาย จากรายงานของสำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองต่อประชากรแสนคนในภาพรวม ปี พ.ศ. 2557 – 2559...
โครงการหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวปีที่ 1
โครงการหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวปีที่ 1 (Certificate short course training program in pharmaceutical care of Patient with Heart Failure) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2568 CPE 30.00 Credits หลักการและเหตุผล ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้มีหลากหลายวิธี เช่น การใช้ยา การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ การใส่เครื่องพยุงหัวใจ และการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นต้น โดยจะพิจารณาเลือกการรักษาตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย แม้ว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาจะมีความก้าวหน้าอย่างมากในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว นำไปสู่การปรับแนวทางเวชปฏิบัติ (clinical practice guidelines) ให้เท่าทันความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวยังมีอัตราการเสียชีวิตสูงและยังมีอัตราการกลับมาเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้บ่อย ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจาก ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมักมีการดำเนินโรคที่รุนแรงมากขึ้นเมื่อเวลาที่ผ่านไป ขาดความรู้ในการดูแลตนเอง มีโรคร่วมหลายชนิด ซึ่งนำไปสู่ความซับซ้อนในการเลือกการรักษาหรือเกิดปัญหาจากการใช้ยาได้ ด้วยความตระหนักในความสำคัญของบทบาทเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ...
โครงการหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไต รุ่นที่ 1 (Certificate Short Course Training Program in Pharmaceutical Care in Nephrology)
โครงการหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไต รุ่นที่ 1 Certificate Short Course Training Program in Pharmaceutical Care in Nephrology ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2568 CPE 30.00 Credits หลักการและเหตุผล เภสัชกรเป็นหนึ่งในทีมบุคลากรสาธารณสุขที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไต เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีการใช้ยาเป็นจำนวนมากส่งผลให้เกิดปัญหาในการใช้ยา รวมถึงมีค่าใช้จ่ายด้านยาสูง เภสัชกรจึงมีบทบาทเข้าไปมีส่วนร่วมในการเพิ่มความปลอดภัย และความร่วมมือในการใช้ยา เพื่อเป้าหมายชะลอการเสื่อมของไต ลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน รวมถึงลดอัตราการเสียชีวิต หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์ในการเตรียมความพร้อมของเภสัชกรให้มีความรู้และทักษะเฉพาะทางด้านบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไต มีคุณธรรม จริยธรรมและปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความใฝ่รู้อย่างต่อเนื่องและสามารถทำงานได้ด้วยตนเอง สามารถริเริ่มและพัฒนางานบริบาลเภสัชกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยและสอดคล้องกับนโยบายด้านสาธารณสุขของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพทั้งในลักษณะการให้บริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโดยตรงและการพัฒนาศักยภาพของทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรจะมุ่งเน้นการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติการบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วย การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างอาจารย์ เภสัชกร และทีมสหสาขาวิชาชีพ เภสัชกรที่ผ่านการอบรมมีความรู้และทักษะเฉพาะทางด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคไตสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคไตร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การพัฒนาและขยายเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยโรคไตให้มีประสิทธิภาพได้ต่อไป หลักสูตรนี้เน้นถึงการทำให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงหลักการทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อที่จะสามารถนำไปปฏิบัติตลอดจนริเริ่มการให้บริการวิชาชีพเภสัชกรรมด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยได้จริงเมื่อสำเร็จหลักสูตรการอบรม การฝึกปฏิบัติวิชาชีพจะเน้นการใช้ evidence based practice ในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีความสามารถในด้านต่าง...
เรื่อง “งานศึกษาต่อเนื่อง ฉลอง 111 ปีแห่งเภสัชจุฬา: สู่ศตวรรษหน้าเภสัชศาสตร์ไทย” (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย)
โครงการประชุมวิชาการ เรื่อง “งานศึกษาต่อเนื่อง ฉลอง 111 ปีแห่งเภสัชจุฬา: สู่ศตวรรษหน้าเภสัชศาสตร์ไทย” (Celebrating 111 Years of Pharm Chula: To the Next Century of Thai Pharmacy) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เวลา 8.30 – 15.00 น. ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการถ่ายทอดออนไลน์ ผ่านทาง Facebook Live CPE 3.00 Credits หลักการและเหตุผล ด้วยวาระที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉลองครบรอบ 111 ปี ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ....
The 1st International Conference in Pharmaceutics and Cosmetics (ICPCos)
The 1st International Conference in Pharmaceutics and Cosmetics (ICPCos) November 18th-19th, 2024 Pathumwan Princess Hotel, Bangkok Jamjuree Ballrom A+B, M floor. The development of research and innovation in pharmaceutical and cosmetics sciences has been continuously growing and advancing rapidly, particularly following the major outbreak of COVID-19, which has brought significant changes to the medical and...
หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นทางการบริหารเภสัชกิจ หลักฐานเชิงประจักษ์และการตัดสินใจทางสุขภาพ
หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นทางการบริหารเภสัชกิจ หลักฐานเชิงประจักษ์และการตัดสินใจทางสุขภาพ ธันวาคม 2567 ถึง พฤษภาคม 2568 CPE 30 credit หลักการและเหตุผล การบริหารเภสัชกิจมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดเวลา การปฏิบัติต้องอาศัยความรู้และทักษะการบูรณาการเภสัชศาสตร์ร่วมกับศาสตร์สาขาอื่นในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและประชาชนให้สามารถเข้าถึงยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพเมื่อต้องการและมีการใช้อย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด วิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย ภายใต้สภาเภสัชกรรม ตระหนักถึงความเป็นพลวัตของบทบาทเภสัชกรในการจัดการอุปสงค์และอุปทานด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่าเภสัชกรรมในระบบสุขภาพ ต้องทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน อีกทั้งการจัดการผลิตภัณฑ์สุขภาพ การบริการสุขภาพ รวมถึงข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เป็นผลให้เภสัชกรผู้ปฏิบัติในบทบาทหน้าที่ดังกล่าวทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชน มีความจำเป็นต้องเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านบริหารเภสัชกิจอย่างต่อเนื่อง จักเป็นประโยชน์ให้ระบบยาและสุขภาพมีการพัฒนาไปอย่างมั่นคง เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมต่อไป เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (health technology) ครอบคลุมถึง ยา หัตถการ วัคซีน เครื่องมือแพทย์ ขั้นตอน ระบบ รวมถึงนโยบายต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน ถือเป็นงานหนึ่งที่มีความสำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับเภสัชกรที่ปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมในทุกระดับทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ (efficiency) สูงสุดในการใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพ เภสัชกรต้องมีความรู้พื้นฐานและเชิงลึกในกระบวนการการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (health technology assessment: HTA) สามารถนำผลการประเมินไปใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุนด้านสุขภาพอย่างเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้รับการรักษาและบริการที่ดี สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทางสุขภาพได้มากขึ้นและเหมาะสม คุ้มค่ากับงบประมาณที่ลงทุน (value for money) วิทยาลัยการบริหารเภสัชกิจแห่งประเทศไทย จึงได้จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมการบริหารเภสัชกิจระยะสั้นนี้ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมสถาบันหลักและสถาบันสมทบในการจัดทำโครงการฝึกอบรมด้านการบริหารเภสัชกิจเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพและความเชี่ยวชาญให้แก่เภสัชกรต่อไป วัตถุประสงค์...
เรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
โครงการอบรม เรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่” วันที่ 11 ธันวาคม 2567 เวลา 9:00 – 12:15 น. ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Zoom Webinar CPE 3.00 Credits หลักการและเหตุผล ด้วยวาระที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉลองครบรอบ 111 ปี ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระดังกล่าวและแสดงศักยภาพทางด้านวิชาการของคณะให้เป็นที่ประจักษ์แก่วงวิชาชีพเภสัชศาสตร์ กรรมการบริหารคณะได้เสนอให้มีการจัดงานวิชาการศึกษาต่อเนื่อง โดยเป็นความร่วมมือของทุกภาควิชาและทุกภาคส่วนในคณะ ซึ่งกำหนดจะจัดงานศึกษาต่อเนื่อง ฉลอง 111 ปีแห่งเภสัชจุฬา: สู่ศตวรรษหน้าเภสัชศาสตร์ไทย (Celebrating 111 Years of Pharm Chula: To the Next Century of Thai Pharmacy) ในระหว่างวันที่...
เรื่อง Pharmacotherapy in Infectious Diseases ครั้งที่ 13 Pharmaceutical care in infectious disease: Navigating New Guidelines in Infectious Disease Management
เรื่อง Pharmacotherapy in Infectious Diseases ครั้งที่ 13 Pharmaceutical care in infectious disease: Navigating New Guidelines in Infectious Disease Management ผ่านโปรแกรม Zoom webinar วันเสาร์ที่ 14-วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2567 CPE 12.00 Credits หลักการและเหตุผล โรคติดเชื้อเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ พบได้บ่อยในทุกกลุ่มผู้ป่วย และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกระบบของร่างกาย มีระดับความรุนแรงตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงแก่ชีวิตได้ ประกอบกับปัญหาเชื้อจุลชีพดื้อยาที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน การรักษาโรคติดเชื้อที่สำคัญส่วนใหญ่ต้องอาศัยยาต้านจุลชีพ การพิจารณาเลือกใช้ยาต้านจุลชีพได้อย่างสมเหตุผล ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในระบบต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมและกำกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม จะส่งผลให้ลดปัญหาเชื้อจุลชีพดื้อยา ลดระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาล ลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการรักษาพยาบาล รวมทั้งลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ การมีเภสัชกรเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมสหสาขาวิชาชีพในการปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคติดเชื้อ จะช่วยเพิ่มคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล และช่วยลดปัญหาดังกล่าวลงได้ส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตามการที่เภสัชกรจะปฏิบัติงานดังกล่าวให้เกิดผลสัมฤทธิ์นั้น จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วนร่วมกัน องค์ประกอบส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญมาก คือ องค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ คุณสมบัติของยาต้านจุลชีพชนิดต่าง...
โครงการอบรม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของแบคทีเรียกรดแอซีติก (Health Products of Acetic Acid Bacteria)
โครงการอบรม เรื่อง ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของแบคทีเรียกรดแอซีติก (Health Products of Acetic Acid Bacteria) วันที่ 17 ธันวาคม 2567 ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Zoom webinar) CPE 3.00 Credits หลักการและเหตุผล ในปัจจุบัน ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติและมีผลดีต่อร่างกาย หนึ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นคือผลิตภัณฑ์จากแบคทีเรียกรดแอซีติก (acetic acid bacteria) แบคทีเรียกลุ่มนี้มีบทบาทสำคัญในการหมักอาหารและเครื่องดื่ม เช่น น้ำส้มสายชูและคอมบูชา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในด้านคุณสมบัติที่ส่งเสริมสุขภาพและเป็นแหล่งสำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังช่วยในกระบวนการย่อยอาหาร การควบคุมน้ำตาลในเลือด และการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ผลิตภัณฑ์จากแบคทีเรียกรดแอซีติกไม่เพียงแต่เป็นเครื่องดื่มหรืออาหาร แต่ยังเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีความหลากหลายมากขึ้น ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากแบคทีเรียเหล่านี้จึงมีความสำคัญต่อทั้งผู้ประกอบการและชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีประสิทธิภาพและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ แบคทีเรียกรดแอซีติก และ/หรือแบคทีเรียกรดน้ำส้มสายชู เซลล์มีรูปร่างรี (ellipsoidal) ถึงเป็นท่อน (rod)...
เรื่อง การตีความและการประยุกต์ใช้ ข้อกำหนด ISO/IEC 17025:2017 และแนวทางในการบริหารการตรวจติดตามระบบคุณภาพ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การตีความและการประยุกต์ใช้ ข้อกำหนด ISO/IEC 17025:2017 และแนวทางในการบริหารการตรวจติดตามระบบคุณภาพ วันที่ 18-20 ธันวาคม 2567 ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการประชุมออนไลน์ผ่านทาง Zoom Webinar CPE 15.00 Credits หลักการและเหตุผล ISO/IEC 17025:2017 เป็นมาตรฐานสากลที่ร่วมระหว่าง International Organization for Standardization กับ International Electrotechnical Commission เพื่อกำหนดข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้อง ปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบให้มีมาตรฐานไปในทางเดียวกัน ประกอบด้วยข้อกำหนดด้านการบริหารงานคุณภาพและข้อกำหนดด้านวิชาการ โดยสามารถนำมาใช้ได้กับทุกองค์กรที่มีการดำเนินกิจกรรมทดสอบและ/หรือสอบเทียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องปฏิบัติการสอบเทียบและทดสอบด้านตรวจวิเคราะห์ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับในการดำเนินการทดสอบและสอบเทียบ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการดำเนินงานตามระบบคุณภาพ และส่งผลให้ผลการทดสอบและสอบเทียบถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ เมื่อห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองแล้ว สามารถสร้างความมั่นใจในผลของการทดสอบว่าถูกต้องตามขอบข่ายที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 ช่วยให้ห้องปฏิบัติการมีความได้เปรียบในการแข่งขัน การตรวจติดตามคุณภาพภายในเป็นข้อกำหนดในมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 ซึ่งเป็นการตรวจสอบระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการทดสอบ / สอบเทียบ เพื่อให้มั่นใจว่าห้องปฏิบัติการ มีการรักษาระบบการ...
เรื่อง 16th Conference on Drug Quality: “Drug Specification, from Small Molecules to Biologics”
โครงการอบรม เรื่อง 16th Conference on Drug Quality: “Drug Specification, from Small Molecules to Biologics” ระหว่างวันที่ 19 - 20 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ ห้อง ราชเทวีแกรนด์บอลลูน CPE 12 credit หลักการและเหตุผล ในปัจจุบันมีผู้ผลิตและผู้นำเข้าเภสัชภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีอัตราการแข่งขันในทางการตลาดอย่างสูง เพื่อผลักดันให้เภสัชภัณฑ์ของตนได้รับคัดเลือกให้เข้าสู่โรงพยาบาล เนื่องจากยาเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพทั้งในด้านประสิทธิผล (Efficacy) และความปลอดภัย (Safety) ในการรักษา ดังนั้นปัจจัยสำคัญที่จะต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกในกระบวนการคัดเลือกเภสัชภัณฑ์เข้าสู่โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุขคือคุณภาพ (Quality) ของเภสัชภัณฑ์ที่ช่วยยืนยันประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้ยานั้นๆ ข้อกำหนดมาตรฐานด้านคุณภาพยา (Drug Specification) เป็นข้อมูลสำคัญจากผู้ผลิตที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของเภสัชภัณฑ์ รวมถึงเอกสารต่างๆ อาทิเช่น ใบรับรองผลการทดสอบเภสัชวิเคราะห์...